คุณมองโลกเป็นขาวดำหรือเปล่า?
แน่นอนว่าคงไม่ใช่หรอก
เพราะภาพที่คุณเห็นล้วนเต็มไปด้วยสีสันและความอิ่มตัว
คุณจะจินตนาการถึงโลกที่ปราศจากสีสันได้หรือไม่? โชคดีที่คุณไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้น
แต่ลองไปรอบๆ ตัวคุณและลองมองสิ่งต่างๆ ให้เป็นโทนสีขาวดำดูสิ
ถ้าคุณอ่านคอลัมน์นี้ในอาคาร คุณก็อาจจะทำได้ง่ายหน่อย
แต่คุณจะสามารถจินตนาการถึงทุ่งดอกป๊อปปี้สีแดงสดหรือดอกบลูเบลล์
เป็นภาพขาวดำได้หรือเปล่า? คงจะยาก เพราะสมองของคุณจะปฏิเสธแนวความคิดนี้
การดึงสีออกจากดอกบลูเบลล์ และดอกป๊อปปี้นั้นไม่เชิงเป็นการปรับปรุงภาพถ่าย
แต่สำหรับสิ่งแวดล้อมในการถ่ายภาพอื่นๆ นั้น
การทำให้ภาพเป็นขาวดำสามารถยกระดับจากสิ่งธรรมดาๆ ให้กลายความพิเศษได้
สิ่งสำคัญที่คุณควรจำก็คือการถ่ายภาพนั้นเริ่มต้นด้วยภาพขาวดำ
และภาพขาวดำก็ไม่ได้ถูกทิ้งขว้างเหมือนทีวีจอขาวดำในยุค 1970 ซึ่งเป็นยุคของทีวีสี
เพราะการมาถึงของสีก็ไม่ได้ทำให้ภาพขาวดำกลายเป็นของเก่าคร่ำครึแต่อย่างใด
และยิ่งในยุคที่เรามีคอมพิวเตอร์อันชาญฉลาดในการตกแต่งภาพ
ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสื่อก็ไม่มีทางจะง่ายไปกว่านี้ได้อีกแล้ว
แต่มันก็ไม่เหมือนกับงานอื่นๆ ในยุคดิจิตอลที่อาศัยเพียงแค่การกดปุ่มหรอกนะ
เพราะช่างภาพเองก็จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการมองด้วยเช่นกัน…
1. ภาพทิวทัศน์เร้าอารมณ์
หนึ่งในความเข้าใจผิดๆ
ที่พบกันบ่อยในหมู่ช่างภาพเวลาถ่ายภาพทิวทัศน์ก็คือความคิดที่ว่าภาพขาวดำเป็นภาพที่มีสีจืดๆ
ไม่น่าตื่นเต้น จริงๆ
แล้วภาพขาวดำไม่ได้เป็นทางเลือกสุดท้ายหรือเป็นทางออกสำหรับภาพที่ไม่น่าสนใจ
เพราะหากปราศจากซึ่งความเปรียบต่าง พื้นผิว รูปทรง และแสงที่สวยงามแล้ว
การปรับภาพให้เป็นขาวดำนั้นก็ไม่มีทางช่วยกู้ภาพของคุณกลับมาได้
การเรียนรู้ที่จะมองทิวทัศน์เป็นภาพขาวดำนั้นเป็นกระบวนการของการลดทอน
และแทนที่คุณจะใส่ใจไปกับสีสันที่จัดจ้านชัดเจน คุณจำเป็นต้องมองหาพื้นผิว โทน
และแสงในทิวทัศน์นั้นเป็นหลัก อันดับแรก
ลองสำรวจความรู้สึกแล้วจากนั้นลองจินตนาการถึงเนื้อหา ลองคิดถึงการละทิ้ง
ความอ้างว้าง และการทำลาย แค่นี้คุณก็จะเห็นอิทธิพลของมนุษย์ที่มีเหนือทิวทัศน์
ตั้งแต่เสียงสะท้อนจากอุตสาหกรรมไปจนถึงทิวทัศน์เมือง
ตัวแบบเหล่านี้ล้วนสามารถเปลี่ยนสีสันให้กลายเป็นภาพผลงานที่รุมเร้าความรู้สึกได้
ภาพทิวทัศน์ขาวดำนั้นขึ้นอยู่กับโทนและการปรับแต่ง
การลดความอิ่มตัวของสีเพียงอย่างเดียวจะให้ผลลัพธ์ที่ไม่สมบูรณ์นัก
และการปรับโทนภาพนั้นก็สามารถทำได้ก่อนที่คุณจะทันเสียบการ์ดเข้ากับคอมพิวเตอร์เสียอีก
เพราะในภาคสนามนั้น
ฟิลเตอร์ครึ่งซีกไม่เพียงแต่เพิ่มโทนให้กับท้องฟ้าที่ซีดจางเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มความลึกและสมดุลให้กับพื้นดินด้านล่างด้วยเช่นกัน
ภาพทิวทัศน์ขาวดำจำเป็นต้องมีอารมณ์และความเข้มข้นเพื่อผลลัพธ์ที่ดี
และการสร้างสมดุลให้กับภาพจะช่วยยกระดับความงดงามให้กับผลลัพธ์ของคุณ
ตั้งค่ากล้อง
SLR อย่างไร
และทำไม?
f/11, ISO100 ค่าความเร็วชัตเตอร์ขึ้นอยู่กับตัวแบบ
ภาพทิวทัศน์ที่ดีนั้นจำเป็นต้องมีความคมชัดทั่วทั้งภาพ
ดังนั้นพยายามอย่าถ่ายด้วยรูรับแสงที่กว้างกว่า f/11 และใช้ค่า
ISO ต่ำเพื่อคุณภาพของภาพที่ดีที่สุด
นอกจากนั้นให้คุณลองถ่ายในช่วงบ่ายเพื่อเอฟเฟ็คท์ที่น่าตื่นตา
2. ภาพทิวทัศน์สไตล์มินิมอล
ภาพขาวดำนั้นเหมาะอย่างยิ่งกับงานทิวทัศน์สไตล์มินิมอล ( Minimalist) เพราะบางครั้ง น้อยก็หมายถึงมากได้
ตัวอย่างในภาพแนวนี้ที่ชัดเจนก็เห็นจะเป็น Michael Kenna ซึ่งภาพทิวทัศน์ท้องทะเลของเขาเป็นงานแนวเหนือจริง
ภาพของเขาเป็นฟอร์แมตสี่เหลี่ยมจัตุรัสและมักใช้เทคนิคทำให้ขอบภาพเข้มดำ
งานของเขาโดดเด่นด้วยการใช้ค่าการเปิดรับแสงที่ยาวนานอย่างสร้างสรรค์
วิธีนี้เปลี่ยนพื้นผิวธรรมดาอย่างเช่นก้อนเมฆและเกลียวคลื่นให้กลายเป็นความนุ่มนวลโดยใช้ฟิลเตอร์ที่ทึบเข้มและถ่ายภายใต้สภาพแสงที่น้อยมากๆ
และการใช้ประโยชน์จากความเคลื่อนไหวนี้เองที่ก่อให้เกิดเอฟเฟ็คท์ภาพแนวเหนือจริงที่โด่งดัง
และก็แน่นอนว่าตัวแบบนั้นมีความสำคัญที่สุด
บางครั้งในภาพนั้นก็อาจจะมีหรือไม่มีจุดสนใจหลักก็ได้
คุณอาจจะลองใช้วัตถุบริเวณชายหาดเช่นเสาหลักหรือแนวรั้ว
เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยเพิ่มพลังให้กับภาพถ่ายได้ แต่บางครั้งการไม่มีสิ่งเหล่านี้ก็สามารถให้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจได้ด้วยเช่นกัน
สิ่งที่สำคัญก็คือการมองหาตัวแบบที่มีศักยภาพอย่างพินิจพิเคราะห์
และจินตนาการถึงภาพผลลัพธ์ก่อนที่จะหยิบกล้องออกมาจากกระเป๋า
ฟิลเตอร์ ND แบบสาม หก หรือสิบสต็อปสามารถช่วยให้คุณควบคุมค่าความเร็วชัตเตอร์
และก็ควรเป็นอุปกรณ์หลักๆ ในการสร้างสรรค์ภาพแนวมินิมอลนี้
ลองใช้ฟิลเตอร์เหล่านี้ในช่วงเวลาต่างๆ ของวันเพื่อเอฟเฟ็คท์ที่ทรงพลัง
ตั้งค่ากล้อง
SLR อย่างไร
และทำไม?
f/11, ISO100 ค่าความเร็วชัตเตอร์ระหว่าง 10 วินาทีและ 5 นาที
ค่าการเปิดรับแสงที่ยาวนานคือหัวใจหลักซึ่งก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับฟิลเตอร์
ND คุณควรทดลองกับค่ารูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ และฟิลเตอร์
ภาพจะมี Noise ปรากฏมากขึ้นเมื่อค่าการเปิดรับแสงนานขึ้น
ให้คุณใช้ค่า ISO ที่ต่ำที่สุด
3. ทิวทัศน์ในเมือง
หนึ่งในข้อดีของการถ่ายภาพพื้นที่เมืองก็คือความหลากหลายของตัวแบบที่เหมาะกับภาพขาวดำ
ไม่ว่าจะเป็นอาคารกระจกที่มันวาวหรือท้องถนนที่พลุกพล่าน
โอกาสในการถ่ายภาพไม่ได้มีแค่เพียงในช่วงเช้าหรือเย็นเท่านั้น
หากแต่เป็นทุกช่วงเวลาของวัน
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรมจากท้องถนนยังช่วยให้คุณสามารถเผยให้เห็นมุมมองที่แปลกตา
แสงที่สะท้อนจากตัวอาคารและหน้าต่างยังช่วยเน้นรูปทรงและความคมชัดในภาพได้
ส่วนรูปทรงนั้นก็ยังได้รับอิทธิพลจากการล้อของเงาซึ่งส่งผลให้แสงในบริเวณนี้มีความนุ่มนวล
การเลือกเลนส์จะส่งผลต่อรูปแบบภาพที่คุณจะได้ แต่ก็นั่นแหละ ฟิลเตอร์ Neutral
Density ก็มีประโยชน์เช่นกัน
ด้วยการใช้ค่าความเร็วชัตเตอร์ที่สูงและเลนส์มุมกว้าง
ปุยเมฆที่ทอดตัวเป็นทางยาวสามารถช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพ
ก่อให้เกิดความรู้สึกถึงการหยุดนิ่งของเวลา
ตั้งค่ากล้อง
SLR
อย่างไร และทำไม?
f/5.6-16 ซึ่งขึ้นอยู่กับเลนส์ ISO100 ค่าความเร็วชัตเตอร์นั้นก็ขึ้นอยู่กับตัวแบบ
ทดลองใช้ฟิลเตอร์ ND ซึ่งจะช่วยเพิ่มความน่าตื่นเต้นให้กับตัวอาคารได้
ลองใช้ฟิลเตอร์ที่กินแสงสาม หก หรือสิบสต็อปกับสถานการณ์ที่เหมาะสม
4. ภาพบุคคลขาวดำโลว์คีย์
หากพลัง ความลึกลับ
หรือการสำรวจโลกด้านที่มืดคือสิ่งที่คุณต้องการจะสื่อสาร
เช่นนั้นแล้วภาพขาวดำโลว์คีย์( low-key mono)ก็คงจะเป็นคำตอบของคุณ
แม้ว่าเทคนิคนี้จะเหมาะกับภาพบุคคล แต่คุณก็สามารถประยุกต์ใช้กับภาพทิวทัศน์ได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโทนมืดของภาพสามารถเผยให้เห็นรูปทรงที่มีความเป็นนามธรรมได้มากขึ้น
ภาพโลย์คีย์ให้ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามกับภาพไฮคีย์ (ดูภาพล่าง)
เพราะแทนที่ตัวแบบจะปรากฏตัวออกมาจากสีขาว ตัวแบบของเราจะปรากฏร่างออกมาจากเงาภาพ
วิธีนี้จะช่วยสร้างความลึกลับและน่าค้นหาซึ่งมักจะให้ผลลัพธ์ที่เหมาะกับภาพขาวดำ
หนึ่งในเอฟเฟ็คท์โลว์คีย์ที่ได้รับความนิยมก็คือภาพบุคคลที่เน้นรูปทรง
โดยให้แสงบริเวณใบหน้าด้วยไฟเพียงดวงเดียวจากด้านใดด้านหนึ่ง
วิธีนี้จะช่วยเน้นให้เห็นรายละเอียดของโครงหน้าด้านหนึ่ง
และอีกด้านหนึ่งจะจมอยู่ในเงาภาพ เอฟเฟ็คท์นี้ให้ผลลัพธ์ที่ดีกับภาพบุคคลครึ่งตัวหรือเต็มตัว
แต่คุณต้องใส่ใจกับส่วนเล็กๆ ที่อาจเบี่ยงความสนใจออกไปได้ (อย่างเช่นมือ)
กุญแจสู่ความสำเร็จก็คือการหาค่าการเปิดรับแสงที่แม่นยำ
เพราะไม่เช่นนั้นเอฟเฟ็คท์ที่ได้ก็จะอ่อนกำลังลง
ค่าการเปิดรับแสงที่โอเวอร์จะทำให้ความลึกลับในภาพนั้นหายไป เนื่องจากฉากหลังจะสว่างขึ้นและเผยให้เห็นสิ่งแวดล้อมของตัวแบบ
แต่ค่าการเปิดรับแสงที่อันเดอร์ก็จะทำให้ตัวแบบอ่อนกำลังลงไป
ทำให้ตัวแบบดูเหมือนไม่ได้เป็นส่วนเดียวในภาพถ่ายเท่าไรนัก
และเนื่องจากภาพแนวนี้จะประกอบด้วยค่าโทนกลางและโทนมืด คุณควรตรวจเช็คกราฟ Histogram
ดูว่าค่าโทนต่างๆ อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
เพื่อความสมบูรณ์ทางเทคนิคในภาพถ่ายของคุณ
ตั้งค่ากล้อง
SLR
อย่างไร และทำไม?
f/5.6-f/11 ISO100 ค่าความเร็วชัตเตอร์ระหว่าง 1/500-1/125 วินาที
ลองใช้ระบบวัดแสงเฉพาะจุดอ่านค่าโทนผิวให้อยู่บริเวณกลางกราฟ Histogram
สำหรับในงานภาพบุคคลนั้น
รูรับแสงกว้างจะดึงใบหน้าให้แยกออกมาจากฉากหลัง
5. ภาพขาวดำไฮคีย์
ภาพขาวดำไฮคีย์ (High – key mono) นั้นเป็นวิธีที่เหมาะกับการแยกตัวแบบให้โดดเด่นทั้งในงานภาพบุคคลและภาพทิวทัศน์
พื้นฐานของภาพแนวนี้ก็คือการใช้ฉากหลังที่สว่างหรือ ‘ไฮคีย์’
พร้อมกับจุดโฟกัสที่มีโทนที่ตัดกัน โดยรวมแล้ว ภาพที่จะดูสว่าง เบา
และชวนฝันโดยเฉพาะในภาพบุคคล ลองจินตนาการถึงภาพผู้หญิงในชุดขาวตัดกับฉากหลังสีขาว
ใบหน้าและช่วงคอของเธอดูเหมือนลอยออกมาจากฉากหลัง
ซึ่งก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกที่ผ่อนคลาย
ปัญหาของภาพไฮคีย์ก็คือความเข้าใจในการวางตำแหน่งของโทนสว่างภายในภาพ
อย่างในภาพตัวอย่างของเรานี้ ซึ่งมีข้อมูลในส่วนของเงาภาพน้อยมาก
ที่จะมีก็เห็นจะเป็นเพียงโทนกลางและโทนสว่างเท่านั้น
ระบบวัดแสงภายในกล้องมักทำงานผิดพลาดในสภาพที่สว่างเช่นนี้
และก็มักจะทำให้ภาพได้รับแสงอันเดอร์ด้วยการวางตำแหน่งสีขาวไว้ที่บริเวณโทนกลาง
นั่นก็เพราะระบบวัดแสงภายในกล้องเป็นระบบที่วัดแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุ
คุณจำเป็นต้องตรวจดูกราฟ Histogram และหาค่าการเปิดรับแสงที่ถูกต้อง
และทำให้สีขาวเป็นสีขาว ไม่ใช่สีเทา
ตั้งค่ากล้อง
SLR
อย่างไร และทำไม?
f/5.6-f/11 ISO100 ค่าความเร็วชัตเตอร์ 1/500-1/125 วินาที ระบบวัดแสงเฉลี่ยกลางภาพ
ถ้าถ่ายภาพด้วยโหมด AV คุณจำเป็นต้องชดเชยแสง
+1.5 สต็อป
การเลือกใช้รูรับแสงกว้างจะช่วยดึงใบหน้าในโดดเด่นขณะที่ฉากหลังกลายเป็นความนุ่มเบลอ
6. เกรนที่สร้างสรรค์
กำลังมองหาวิธีเพิ่มเกรนฟิล์มให้กับภาพดิจิตอลของคุณอยู่หรือเปล่า?
ถ้าเช่นนั้นคุณน่าจะลองใช้เกรนแบบสร้างสรรค์นี้ดู แม้ว่าเกรนและ Noise
จะเป็นหายนะสำหรับช่างภาพสมัยใหม่
แต่เราก็สามารถใช้ประโยชน์จากเกรนด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาพขาวดำ สีสันที่ไล่โทนอย่างสมบูรณ์มักจะทำให้ภาพดูสะอาดเอี่ยมจนเกินไป
ส่งผลให้เสน่ห์ของภาพลดน้อยลง
ด้วยเหตุนี้คุณก็น่าที่จะลองเพิ่มเกรนเพื่อสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์และภาพบุคคลที่เปี่ยมไปด้วยอารมณ์
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว Noise ในระบบดิจิตอลนั้นก็เทียบได้กับเกรน
ยิ่ง ISO สูงเท่าไหร่ Noise ก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
ผู้ผลิตกล้องล้วนภาคภูมิใจในกล้องซึ่งให้ภาพผลลัพธ์ที่มีเกรนลดน้อยลงบน
ISO ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นนั้นแล้วเราจะเพิ่ม Noise เข้าไปในภาพของเราได้อย่างไร? เราสามารถเพิ่ม Noise
ได้ทั้งในขั้นตอนการถ่ายภาพและขั้นตอนการตกแต่งภาพ แม้ว่าวิธีหลังนั้นจะทำให้เรามีการควบคุมที่ดีกว่า
แต่การใช้ ISO สูงๆ ในการบันทึกภาพก็ให้ผลลัพธ์ที่ดีเช่นกัน
ข้อผิดพลาดหลักที่ช่างภาพมักทำกันคือการทิ้งค่า ISO สูงๆ ไว้ในกล้องหลังจากที่ถ่ายภาพในสถานที่ที่มีแสงน้อย
แล้วใช้ค่ากล้องนี้ถ่ายภาพในเช้าอีกวันหนึ่ง แต่อย่าเพิ่งลบไฟล์ภาพเหล่านี้จนกระทั่งคุณได้ตรวจเช็คมัน
เพราะเอฟเฟ็คท์ที่ได้นั้นอาจจะดีกว่าที่คุณคิดก็ได้!
ตั้งค่ากล้อง
SLR
อย่างไร และทำไม?
f/5.6-f/11 ISO100 ค่าความเร็วชัตเตอร์ระหว่าง 1/500 และ 1/1000 วินาที
ปรับรูรับแสงให้ได้ระยะชัดลึกที่คุณต้องการ และไม่ต้องกังวลกับค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ลดต่ำลง
กล้องถ่ายภาพของคุณจะไวแสงเพิ่มขึ้นด้วยค่า ISO ที่สูงขึ้น
7. ทำภาพให้เก่า
หนึ่งในข้อดีของการถ่ายภาพดิจิตอลก็คือความสามารถในการปรับแต่งที่ไร้ขีดจำกัด
และการปรับภาพให้ดูเก่าก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น
เทคนิคนี้ทำได้ด้วยการผสานภาพพื้นผิวเข้ากับภาพหลักของคุณ
อันดับแรก ให้คุณหาตัวแบบที่เหมาะจะนำมาเป็นภาพหลัก ลองหาอะไรที่ดูชำรุด
อย่างอาคารเก่า โรงนา หรืออาจจะเป็นอะไรที่ตรงกันข้ามกันแบบสุดขั้ว
เอฟเฟ็คท์เดียวกันนี้ก็ให้ผลลัพธ์ที่ดีกับภาพบุคคลเช่นกัน การปรับภาพใบหน้าหรือร่างกายให้ดูเก่าก็สามารถสร้างเอฟเฟ็คท์ถึงการเวลาที่กัดกร่อนเมื่อคุณนำภาพบุคคลมาซ้อนกับภาพพื้นผิวหรือรอยขีดข่วน
สิ่งแรกที่คุณควรทำก็คือการสะสมภาพพื้นผิวไว้ในคลังภาพของคุณ
แม้ว่าคุณจะสามารถดาวน์โหลดภาพพื้นผิวออนไลน์ได้ แต่คุณก็น่าจะลองมองรอบๆ
ตัวและเก็บภาพโคลสอัพสำหรับคลังภาพของคุณเอง สิ่งแวดล้อมในเมืองเป็นแหล่งภาพชั้นดี
ลองถ่ายภาพกำแพงเก่า สังกะสี หรือโปสเตอร์ที่ฉีกขาด
จากนั้นให้ซ้อนภาพเหล่านี้เข้ากับภาพหลักของคุณด้วยโปรแกรม Photoshop จากนั้นเปลี่ยนค่า Blending Mode เพื่อหาเอฟเฟ็คท์ที่ต้องการ
(เช่น Multiply, Overlay และ Vivid Light) คุณสามารถปรับแต่งเอฟเฟ็คท์ด้วยการแปลงภาพบางภาพให้เป็นขาวดำ
ซึ่งเลเยอร์เหล่านี้ไม่เพียงจะทำให้ภาพของคุณดูเก่าเท่านั้น
แต่ยังสร้างเอฟเฟ็คท์โทนสีให้กับภาพของคุณด้วย
ตั้งค่ากล้อง
SLR
อย่างไร และทำไม?
f/5.6-f/8 ISO400 ในกรณีที่ถือกล้องถ่าย
สำหรับภาพพื้นผิว
ให้ใช้เลนส์เทเลโฟโต้หรือมาโครเพื่อบันทึกภาพในอัตราขยาย
ให้โหมดวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพหรือเฉลี่ยหนักกลาง
ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับตัวแบบที่คุณถ่าย
8. ขาวดำยามค่ำคืน
การถ่ายภาพยามค่ำคืนก่อให้เกิดภาพที่ทรงพลังและเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์
แต่ในภาพขาวดำนั้นก็จะยิ่งสวยงามเป็นพิเศษ
ความมืดมักเชื่อมโยงกับอารมณ์ที่รุนแรงอย่างเช่นความหวาดหวัดและสะพรึงกลัว
แต่เมื่อเราปรับภาพให้เป็นขาวดำแล้ว
ภาพถ่ายของคุณจะมีพละกำลังเพิ่มขึ้นอีกมากทีเดียว
หนึ่งในความรำคาญของช่างภาพเวลาถ่ายภาพเมืองยามค่ำคืนก็คือแสงไฟสีส้มๆ
ที่ดูขุ่นมัว ถ้าเช่นนั้นทำไมไม่กำจัดมันทิ้งไปด้วยการปรับภาพให้เป็นขาวดำดูล่ะ?
และนี่ก็คือเวลาที่เหมาะที่สุดแล้ว
หนึ่งในกฎของการแปลงภาพยามค่ำคืนให้เป็นขาวดำก็คือการปรับชาโดว์ให้เป็นสีดำ
ช่างภาพท่องเที่ยวมักเก็บกล้องใส่กระเป๋าเมื่อค่ำคืนเริ่มคืบคลาน
แต่นี่คือช่วงเวลามหัศจรรย์ที่คุณควรอยู่รอ ภาพแนวนี้ก็เหมือนกับภาพโลว์คีย์
ตึกรามบ้านช่องจะปรากฏขึ้นมาจากค่ำคืนที่มืดมิด หลบซ่อนตัวอาคารบางส่วนไว้
ท้องถนนที่โล่งเปล่าจะช่วยเพิ่มองค์ประกอบแห่งความเข้มข้น
แต่ด้วยความเป็นขาวดำจะสื่อให้รู้สึกถึงเวลา
ตั้งค่ากล้อง
SLR
อย่างไร และทำไม?
f/5.6-f/11 (รูรับแสงขึ้นอยู่กับภาพที่คุณต้องการ) ISO100-800
คุณจำเป็นต้องเพิ่มค่า ISO หากคุณต้องการบันทึกภาพความเคลื่อนไหว
ลองใช้ค่าความเร็วชัตเตอร์ประมาณ 1/30 และ 30 วินาที และอย่าลืมพกขาตั้งกล้องติดตัวไปด้วย
9. นามธรรม
ภาพขาวดำเป็นสื่อที่เหมาะในการสร้างสรรค์ภาพแนวนามธรรม
สำหรับภาพแนวนามธรรมที่ดีนั้น ภาพจำเป็นต้องโจมตีผู้ดูด้วยคำถาม
เรากำลังมองไปทางไหน? ขนาดเท่าไหร่? กำจัดสีสันที่มีออกไปให้กลายเป็นภาพขาวดำ
จะทำให้ภาพนามธรรมนั้นจะยิ่งซับซ้อนเนื่องจากบริษัทเดิมๆ ได้สูญหายไปแล้ว
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรมสมัยใหม่เป็นวิธีที่เหมาะกับการเรียนรู้ภาพขาวดำนามธรรม
เนื่องจากงานเหล่านี้ล้วนออกแบบโดยสถาปนิก
คุณควรเลือกใช้ทางยาวโฟกัสและมุมกล้องที่ถูกต้อง
พยายามหลีกเลี่ยงการเฟรมภาพตัวแบบเต็มตัวที่จดจำง่าย
และพยายามเพ่งความสนใจไปยังความรู้สึกที่มีต่ออาคารนั้นๆ
แปลงภาพให้เป็นขาวดำและลองปรับแต่งโทนของภาพดู
และวิธีนี้ไม่ได้มีไว้แค่เพียงอาคารเท่านั้น
แม้ว่าทิวทัศน์อาจไม่ได้เป็นตัวเลือกแรกๆ ในการถ่ายภาพนามธรรม
แต่การผสมผสานมุมมองและทางยาวโฟกัสที่เหมาะสมอาจจะทำให้คุณประหลาดใจกับผลลัพธ์ที่ได้
ทะเลสาบเป็นสถานที่ที่เหมาะกับภาพนามธรรมที่สวยงาม ทิวเขาธรรมดาๆ
อาจกลายเป็นลวดลายที่ประหลาดตา เพียงแค่คุณเปลี่ยนภาพให้เป็นขาวดำ
เอฟเฟ็คท์ที่ได้นั้นจะผลักดันภาพถ่ายของคุณต่อไปเอง
ตั้งค่ากล้อง
SLR
อย่างไร และทำไม?
f/5.6-f11 (รูรับแสงขึ้นอยู่กับภาพที่คุณต้องการ) ISO100-800
คุณจำเป็นต้องเพิ่ม ISO ให้สูงขึ้นหากภาพของคุณมีการเคลื่อนไหวอยู่ในนั้น
ลองใช้ค่าความเร็วชัตเตอร์ระหว่าง 1/30 วินาทีถึง 30 วินาที
10. โซลาไรเซชั่น
โซลาร์เซชั่น (Solarisation) อาจเป็นเทคนิคที่ให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างจะแปลกตา
แต่มันก็ให้ผลลัพธ์ที่ดีกับภาพขาวดำบางภาพ เทคนิคนี้เริ่มขึ้นในห้องมืดในช่วงปี 1860
ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของการฉายแสงลงบนฟิล์มเนกาทีฟที่ฉายแสงแล้วในช่วงก่อนหรือระหว่างกระบวนการล้างฟิล์ม
เทคนิคนี้ถูกทำให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นโดยจิตรกรชาวอเมริกาที่ชื่อว่า Man
Ray
เทคนิคสไตล์ป๊อปอาร์ตนี้ส่งผลประหลาดๆ บางอย่างต่อไฮไลต์ของภาพ
เพราะยิ่งไฮไลต์ในภาพปกตินั้นมีความสว่างมากเพียงใด
ส่วนนั้นก็จะเข้มขึ้นมากเท่านั้นเมื่อผ่านกระบวนการ โซลาร์เซชั่น
สีขาวกลายเป็นสีดำและโทนภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ส่งผลให้เกิดภาพแนวเหนือจริงที่แปลกตา
การสร้างภาพ นี้ง่ายมาก จริงๆ
แล้วโปรแกรมตกแต่งภาพแทบทุกโปรแกรมจะมีค่าคำสั่งนี้ที่เลียนแบบเทคนิคห้องมือขาวดำได้อย่างเที่ยงตรง
แต่มันก็ง่ายพอที่คุณจะสร้างมันขึ้นมาเองด้วยการปรับ Curves ด้วยตัวคุณเอง
เทคนิคหลักๆ ก็คือการดันสีดำในภาพไปในทางกลับกันให้ได้ Curve รูปทรงตัว U ซึ่งเป็นวิธีที่ตรงกันข้ามกับการปรับแต่งภาพทั่วไป
11. Split tone
Split tone เป็นเทคนิคการทำภาพขาวดำที่ช่วยเพิ่มเติมสีสันให้กับภาพถ่าย
วิธีการทำงานก็คือการเพิ่มสีสันให้กับช่วงโทนต่างๆ เช่นชาโดว์ โทนกลาง และไฮไลต์
เทคนิคนี้เดิมเป็นเทคนิคห้องมืด
การแยกโทนเป็นกระบวนการสร้างภาพที่ใช้สารเคมีที่แตกต่างกัน
ซึ่งสามารถให้ผลลัพธ์ที่แปลกตาแม้แต่ในยุคดิจิตอลนี้ก็ตาม
เทคนิค Split tone นี้ให้ผลลัพธ์ที่ดีเมื่อคุณนำมาใช้กับภาพบุคคลและทิวทัศน์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากช่างภาพกำลังหาวิธีการย้อมสีภาพที่สามารถควบคุมเอฟเฟ็คท์ได้มากกว่าการใช้ค่าพรีเซ็ตที่มี
ภาพดิจิตอลขาวดำมักจะมีปริมาณของสีแดงปรากฏอยู่ในช่วงโทนกลางและชาโดว์
ด้วยการเพิ่มสีน้ำเงินหรือสีฟ้าเข้าไปในพื้นที่ชาโดว์เหล่านี้ ภาพถ่ายที่ได้จะมีความเข้มและอิ่มตัวมากขึ้น
สีดำจะเริ่มเข้มดำมากขึ้นและภาพถ่ายก็จะมีความลึกโดยไม่มีโทนสีอื่นๆ โดดเด่นขึ้นมา
ลองแปลงภาพให้เป็นขาวดำและจากนั้นใช้ Colour Balance Adjustment
Layer ใน Photoshop เพื่อเพิ่มสีสันอื่นๆ
ในช่วงโทน กุญแจที่สำคัญคือความแนบเนียน ดังนั้นอย่าลืมเปิดและปิดไอคอนเลเยอร์เพื่อดูเอฟเฟ็คท์ที่คุณกำลังปรับแต่งอย่างสม่ำเสมอ
12. อินฟราเรด
การถ่ายภาพอินฟราเรด (Infrared photography) เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการถ่ายภาพขาวดำ
และนี่ก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่สามารถแปลงโฉมภาพถ่ายของคุณได้เป็นอย่างดี แต่สิ่งที่สำคัญก็คือความเข้าใจในหลักการทำงานของการแปลงภาพด้วยวิธีนี้
การถ่ายภาพอินฟราเรดถูกค้นพบครั้งแรกโดย Robert Wood ในปี 1910 ซึ่งเขาพยายามสร้างฟิล์มทดลองที่แตกต่างไปจากฟิล์มซิลเวอร์ฮาไลต์เพลทที่ใช้กันในสมัยนั้น
อินฟราเรดก่อให้เกิดเอฟเฟ็คท์ที่แปลกตาด้วยการปิดสเป็กตรัมแสงที่มองเห็นได้ทั้งหมด
ส่วนในต้นไม้นั้น แสงที่สะท้อนออกมาจากใบจะถูกบันทึกเป็นสีขาวสว่าง
ดูฟุ้งกระจายราวกับหิมะ ส่วนก้อนเมฆและท้องฟ้าก็จะดูแปลกตาออกไป
ดังนั้นคุณจึงจำเป็นต้องเลือกตัวแบบให้เหมาะสมกับเอฟเฟ็คท์อินฟราเรดนี้
ขั้นตอนแรกก็คือการตรวจดูว่ากล้องของคุณสามารถถ่ายภาพอินฟราเรดได้หรือไม่
วิธีที่มีราคาต่ำที่สุดก็คือการใช้ฟิลเตอร์อินฟราเรด
(ซึ่งจะกั้นแสงสีทั้งหมดยกเว้นคลื่นอินฟราเรด)
แต่วิธีนี้ก็มีปัญหาที่คุณควรทราบไว้ ตัวอย่างเช่น
เทคนิคนี้จะลดค่าการเปิดรับแสงของคุณจนต่ำ และคุณจะไม่สามารถมองผ่านช่องมองภาพได้
ดังนั้นคุณจึงจำเป็นต้องปรับโฟกัสและจัดองค์ประกอบภาพก่อนที่จะสวมฟิลเตอร์เข้าไป
ซึ่งก็ทำให้ขาตั้งกล้องเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ
หรือคุณอาจจะดัดแปลงกล้องของคุณให้กลายเป็นกล้องอินฟราเรด แต่ขอเตือนก่อนว่า
วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายที่สูงเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน